งานบนฝ้าที่มีผลกับการกันเสียง
แนวการวางท่อแอร์ ทั้ง Supply และ Return มีความสำคัญ
แนวการวางท่อแอร์ เป็นสิ่งสำคัญและต้องมีการวางแผนแต่ต้นในการก่อสร้างเลยครับ หากเกิดปัญหาแล้วการแก้ไขจะยุ่งยากมาก หรืออาจจะแก้ไขอะไรไม่ได้เลยก็เยอะครับ
ปัญหาที่เจอคือการวางแนวท่อแอร์ทะลุเชื่อมกันทุกห้อง คราวนี้พอเสียงขึ้นท่อแอร์ไปก็จะวิ่งกระจายไปห้องอื่นๆ ทำให้ได้ยินเสียงในห้องชัดเจนเลยทีเดียว (เราเรียกว่า Cross-Talk noise)
หากเรารู้แต่แรกว่า ห้องไหนเป็นห้องประชุมต้องการเป็นส่วนตัวหรือความลับ การออกแบบแนวท่อแอร์ที่พยายามให้แอร์วิ่งอ้อม สร้างอุปสรรคให้มัน เช่นกรุวัสดุดูดซับเสียงไว้ในท่อแอร์ จะช่วยป้องกันเสียงข้ามระหว่างห้องได้ ดังตัวอย่างในรูปครับ
ถ้าทำผนังชนท้องฝ้าคอนกรีตด้านบนไม่ได้ จะต้องทำฝ้าให้กันเสียงได้
อีกสาเหตุหลักที่เข้ามาพัวพันเกี่ยวเรื่องของการเก็บเสียง ซึ่งจะเจอบ่อยมากคือ ปัญหาเรื่องของการก่อสร้างผนังไม่ชนท้องพื้นคอนกรีตด้านบน ทำผนังสูงแค่เสมอแนวฝ้า เนื่องจากสาเหตุว่า
- ต้องการช่องว่างด้านบน เพื่อเดินระบบไฟฟ้า ท่อแอร์ ท่อดับเพลิง และทำการซ่อมแซมได้ง่าย
- ใช้ระบบแอร์แบบที่เรียกว่า ใช้โถงฝ้าด้านบนเป็นช่อง Return แอร์ หมายความว่า ไม่เดินท่อ Return แต่เอาโถงฝ้ามาทำ Return เลย คือดึงลมจากโถงฝ้าไปทำให้เย็นด้วยเครื่องแอร์ที่อยู่นอกตึกและส่งลมเย็นกลับมาทางท่อ Supply จ่ายยังบริเวณต่างๆภายในอาคาร
- เหนือฝ้าเป็นโถงหลังคา ไม่มีพื้นคอนกรีต
ด้วยสาเหตุเหล่านี้ จึงสร้างปัญหาเรื่องเสียงที่เดินทางอ้อมผ่านฝ้าออกมาได้ง่าย ยิ่งฝ้าที่ใช้เป็นฝ้าประเภทดูดซับเสียง และฝ้าทีบาร์ด้วยแล้ว เสียงยิ่งทะลุผ่านฝ้า อ้อมข้ามผนัออกมาได้ง่ายมากๆครับ
ดังนั้นในการออกแบบตั้งแต่ต้นหากไม่สามารถก่อผนังชนท้องพื้นคอนกรีตและอุดรอยรั่วได้แล้ว แนะนำให้ทำฝ้าที่มีคุณสมบัติกันเสียงได้ เพื่อช่วยป้องกันเสียงทะลุออกไปภายนอก
เสียงแอร์ช่วยได้เยอะ
นอกจากจะทำกันเสียงแล้ว ในที่ทำงานประจำของวิศวกร ได้เจอพระเอกที่ช่วยให้ห้องประชุม เก็บเสียงได้อย่างดีเยี่ยมครับ นั่นก็คือ เสียงแอร์ !!!
ค่าระดับเสียงแอร์ในออฟฟิตของวิศวกร เวลาเปิดแอร์ ตั้งแต่ 8.00 – 17.00 น. นั้น ดังถึง 55-60 เดซิเบล
ทำให้เสียงแอร์ช่วยกลบเสียงที่ดังทะลุออกมาจากห้องประชุม จนแทบไม่ได้ยินเลยครับ ซึ่งได้ผลดีมากหากคิดว่าคงทำอะไรกับผนัง ฝ้า อะไรได้อีกแล้วครับ แนะนำให้ลองทำดูครับ !!! (อย่างไรก็ตามหากเสียงแอร์ดังเกินไปอาจจะรบกวนการทำงานของคนทำงานก็ได้ครับ จะต้องลองปรับแก้ตามสถานการณ์กันไปครับ